O2 อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่และภารกิจของสถานีตำรวจ
สถานีตำรวจ มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดในคดีอาญาภายในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง รวมถึงการรับผิดชอบในด้านการงานและการปกครองบังคับบัญชาถัดรองลงไปจากกองบังคับการตำรวจนครบาล(1-9) หรือตำรวจภูธรจังหวัด เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงภายใน บริการทางสังคม ชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ การพัฒนางานบริหารและงานจเรตำรวจ การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงงานกิจการพิเศษ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานีตำรวจ ซึ่งงานในสถานีตำรวจ แบ่งออกเป็น 5 สายงาน ดังนี้
                    1) งานอำนวยการ
                         มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการ การวางแผน การตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานของสถานีตำรวจ งานการบริหารบุคลากร งานจเรตำรวจงานกิจการพิเศษ งานความมั่นคง การศึกษา การฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนา การบริหารจัดการ งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและสรรพาวุธ การส่งกำลังบำรุง รวมทั้งลักษณะงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานดังกล่าว เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ
                                    
                   2) งานป้องกันปราบปราม
                         มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการป้องกันอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยงานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจ การรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ 
                   3) งานจราจร
                        มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับจราจร งานจราจรตามโครงการพระราชดำริ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน
                4) งานสืบสวน
                      มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการสืบสวน อาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ ตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ  
               5) งานสอบสวน
                      มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลด้านการสอบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ.

ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอภูเวียง

พื้นที่ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 516.14 ตร.กม.
- 11 ตำบล 114 หมู่บ้าน
- จำนวนประชากร ทั้งหมด 68,863 คน
- ชาย 34,236 คน
- หญิง 34,627 คน

อาณาเขตติดต่อ

- ทิศเหนือ ติดเขต สภ.หนองนาคำ อ.หนองนาคำ และเขื่อนอุบลรัตน์ จว.ขอนแก่น
- ทิศใต้ ติดเขต สภ.หนองเรือ อ.หนองเรือ จว.ขอนแก่น
- ทิศตะวันออก ติดเขต สภ.หนองเรือ และ สภ.อุบลรัตน์ จว.ขอนแก่น
- ทิศตะวันตก ติดเขต สภ.ชุมแพ และ สภ.เวียงเก่า จว.ขอนแก่น


ที่อยู่ สถานีตำรวจภูธรภูเวียง
เลขที่ 140 หมู่ 4
ต.ภูเวียง อ.ภูเวียง จว.ขอนแก่น
40150

จำนวนหมู่บ้านในแต่ละตำบล

1.ตำบลบ้านเรือ จำนวน 9 หมู่บ้าน
2. ตำบลหว้าทอง จำนวน 8 หมู่บ้าน
3.ตำบลกุดขอนแก่น จำนวน 15 หมู่บ้าน
4.ตำบลนาชุมแสง จำนวน 12 หมู่บ้าน
5.ตำบลนาหว้า จำนวน 11 หมู่บ้าน
6.ตำบลหนองกุงธนสาร จำนวน 16 หมู่บ้าน
7.ตำบลหนองกุงเชิน จำนวน 9 หมู่บ้าน
8.ตำบลสงเปือย จำนวน 11 หมู่บ้าน
9.ตำบลทุ่งชมพู จำนวน 8 หมู่บ้าน
10.ตำบลดินดำ จำนวน 7 หมู่บ้าน
11.ตำบลภูเวียง จำนวน 8 หมู่บ้าน

รวมหมู่บ้านทั้งหมด 114 หมู่บ้าน

ข้อมูลท้องถิ่น

1.อาสาสมัครตำรวจบ้าน จำนวน 126 คน
2.อาสาสมัครจราจร จำนวน 70 คน
3.สมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม จำนวน 342 คน
4.วัด จำนวน 106 แห่ง
5.โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 3 โรง
6.โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 64 โรง
7.โรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง
8.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 11 แห่ง
9.ไฟฟ้า จำนวน 1แห่ง
10.ประปา จำนวน - แห่ง
11.ไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
12.วิทยุชุมชน จำนวน 1 แห่ง
13.สถานีขนส่ง จำนวน 1 แห่ง
14.ปั๊มน้ำมัน จำนวน 5 แห่ง
15.ธนาคาร จำนวน 4 แห่ง

16.ร้านทอง จำนวน 4 ร้าน
17.ร้านสะดวกซื้อ จำนวน 4 ร้าน
18.ห้างสรรพสินค้า จำนวน 1 แห่ง
19.สถานบันเทิง จำนวน 2 แห่ง
20.สถานที่ท่องเที่ยว จำนวน 2 แห่ง
21.สถานที่รับซื้อของเก่า จำนวน 10 แห่ง
22.อู่ซ่อมรถยนต์/รถจักรยานยนต์ จำนวน 35 ร้าน
23.ร้านรับซื้อ จำหน่ายโทรศัพท์มือถือ จำนวน 8 ร้าน
24.โรงเลื่อย จำนวน 1 โรง
25.โรงรับจำนำ จำนวน 1 แห่ง
26.โรงแรม จำนวน 6 แห่ง
27.วินรถจักรยานยนต์ จำนวน 2 ที่
28.กู้ภัย จำนวน 2 หน่วย
29.บุคคลสำคัญ จำนวน 1 คน
30.จุดเสี่ยง/จุดล่อแหลม ไม่มี

ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2567

คำสั่งและนโยบาย/ยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี